กฏหมายคืออะไร

                    

 thai3.gif

                คำจำกัดความของ “กฎหมาย” หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ

ลักษณะของกฎหมาย

                 เมื่อได้ทราบความหมายของกฎหมายแล้ว  กฎหมายต้องมีลักษณะ  ๕ ประการดังนี้

                 1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ  หมายความว่า  กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง  คำบัญชา  อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ  เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ  มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ  เช่น  ในสมัย  จอมพล ป. พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี  รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก  เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน  ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร  มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย

                2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์    รัฎฐาธิปัตย์คือ  ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน  โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก  ดังนี้รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร  แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง  คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้ อ่านเพิ่มเติม

กฏหมาย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

images.jpg

เดิมเรียกชื่อว่า “พระธรรมศาสตร์” (JURISPRUDENCE) มาจากคำว่า JURISPRUDENTIA ซึ่ง พระเจ้าจัสติเนียน (JUSTINIAN) ทรงบัญญัติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก และประเทศอังกฤษได้นำเอาคำนี้มาใช้ทับศัพท์ว่า “JURISPRUDENCE” เสด็จในกรม กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) ซึ่งทรงสำเร็จ กฎหมายจากประเทศอังกฤษได้ทรงทำหลักวิชานี้มาสอนที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเป็นครั้งแรก

. กฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน อ่านเพิ่มเติม

กฏหมายครอบครัว

การหมั้น
เงื่อนไขของการหมั้น มีอยู่ ๒ ประการ
๑. อายุของคู่หมั้น (มาตรา ๑๔๓๕) ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุอ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หากฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ
๒. ความยินยอมของบิดามารดา (ได้รับความยินยอมทั้งบิดาและมารดาแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่ก็ตาม) หรือผู้ปกครอง (มาตรา ๑๔๓๖) การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเป็นโมฆียะ

แบบของสัญญาสัญญาหมั้น
หลัก การหมั้นต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์ (มาตรา ๑๔๓๗)
การหมั้น จะต้องเป็นการที่มีการนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง แต่หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที อ่านเพิ่มเติม